Visit Hague

Experience The Beauty Of Nature

แนวทางการป้องกันน้ำรั่วซึม

แนวทางการป้องกันน้ำรั่วซึม

ว่ากันด้วยเรื่องของความเสียหายเกี่ยวกับ “น้ำรั่วซึม” ที่ทั้งบ้านและคอนโดมักจะเกิดปัญหาความเสียหายของของภายในห้อง กำแพง wallpaper ต่างๆ ซึ่งการแก้ไขเป็นอะไรยุ่งยากมากเลยหล่ะครับ จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราสามารถป้องกันน้ำรั่วซึมได้ บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “แนวทางการป้องกันน้ำรั่วซึม” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ

สาเหตุของน้ำรั่วซึมในห้องหรือบ้าน

สาเหตุส่วนใหญ่ปัญหาน้ำรั่วระหว่างห้องมักเกิดจากห้องน้ำชั้นบนเป็นหลัก เพราะมีการก่อสร้างหรือตกแต่งเปลี่ยนแปลงท่อ น้ำ หรือเกิดจากอุปกรณ์ห้องน้ำในห้อง เช่นปากท่อระบายน้ำทิ้ง ยาแนวรอบขอบอ่างอาบน้ำกร่อน ยางท่อน้ำทิ้งในอ่างอาบน้ำเสีย ยาแนวพื้นกระเบื้องสึกกร่อน ก๊อกน้ำ และท่อน้ำประปาที่ฝัง   ในกำแพงห้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำขังซึมลงไปยังห้องด้าน ล่าง สร้างความเสียหายแก่ฝ้าเพดาน ผนังและเฟอร์นิเจอร์ของ

นอกจากน้ำขังแล้วถ้าห้องคอนโดอยู่มุมตึกและโครงการทำได้ไม่ดีก็มักจะเจอปัญหาน้ำรั่วซึมช่วงฝนตกหนักๆ ตามรอยแนวยาแนวห้อง หรือตามขอบซีลหน้าต่าง บานต่างๆ ได้เช่นกันครับ

ยกตัวอย่างน้ำรั่วซึมจะความเสียหาย

►รอยแตกร้าว รอยแตกร้าวของผนัง หรือระหว่างผนัง และพื้น อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ไปกระทบกับท่อน้ำที่ถูกฝังอยู่ในผนังบ้าน

►ข้อต่อท่อ เป็นจุดที่เกิดปัญหาค่อนข้างบ่อย เพราะตอนวางระบบน้ำ ช่างอาจจะใช้แรงมากเกินไปจนท่อร้าวได้ หรือบางกรณีอัดกาวไม่แน่นพอ จะเกิดท่อหลวม ซึ่งเมื่อเป็นการร้าวของท่อที่ฝังอยู่ในกำแพงแล้ว ต้องสกัดปูน เพื่อเปลี่ยนข้อต่อท่อในส่วนนั้น

►ดินทรุด เป็นสาเหตุที่สังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะบ้านที่ปลูกสร้างไว้หลายปีอาจเกิดปัญหาดินทรุดแบบไม่รู้ตัว หรืออาจทรุด เฉพาะส่วนที่ต่อเติมบ้านออกไป จนกระทบท่อน้ำขยับ จนหลุดตามไปด้วย

ป้องกันน้ำรั่วซึมอย่างไรได้บ้าง?

เราจะแนะนำการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมโดยยกตัวอย่างเป็นกรณีๆ ดังต่อไปนี้

น้ำซึมที่ผนังหรือพื้นในช่วงฝนตก

       หากเป็นน้ำที่มาจากน้ำฝนโดยตรง มักเกิดจากผนังภายนอกมีรอยแตกร้าวของปูนฉาบ ซึ่งอาจเกิดจากการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบโดยทั่วไป หรือเกิดจากการเจาะยึดเพื่อติดตั้งโครงเหล็กต่าง ๆ เช่น หลังคากันสาด ระแนงบังแดด ที่วางคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศ น้ำจึงแทรกซึมผ่านผนังจนทำให้สีทาผนังภายในบวมพอง หรือบางกรณีน้ำแทรกตัวในผนังและซึมออกที่พื้นก็เป็นได้เช่นกัน การแก้ไขควรฉาบซ่อมแซมรอยแตกร้าวที่ผนังภายนอกก่อน ด้วยปูนฉาบซ่อมอเนกประสงค์แล้วทาสีภายนอกทับ จากนั้นจึงลอกสีทาผนังภายในที่บวมพองออกก่อนทาสีภายในใหม่ (การทาสีควรทำตามขั้นตอนที่ผู้ผลิตกำหนด) และหากวัสดุปูพื้นหลุดล่อนควรรื้อออกและติดตั้งใหม่

น้ำซึมที่ผนังหรือพื้นถึงแม้ฝนไม่ตก

       หากน้ำซึมเข้าบ้านทั้ง ๆ ที่ฝนไม่ได้ตก หรือไม่ได้อยู่ในช่วงหน้าฝน จะเป็นปัญหาจากน้ำภายในอาคารไม่ว่าจะเป็นน้ำจากท่อประปารั่ว หรือน้ำจากท่อระบายน้ำรั่ว ซึ่งมักจะเกิดในจุดที่ใกล้กับท่อเหล่านั้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ลานซักล้าง หรืออาจเป็นพื้นที่ทางผ่านท่อประปาและท่อระบายน้ำ ทั้งนี้หากเป็นท่อประปารั่วสามารถสังเกตได้จากมิเตอร์น้ำว่าหมุนหรือไม่ทั้ง ๆ ที่ปิดน้ำทุกจุดแล้ว หากหมุนแสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่ว แต่หากเป็นท่อระบายน้ำรั่วต้องอาศัยพิจารณาจากแบบระบบสุขาภิบาลของบ้าน หรือคาดเดาเส้นทางการเดินท่อระบายน้ำที่มีอยู่ เมื่อหาตำแหน่งท่อที่เกิดปัญหารั่วพบแล้วให้ทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อย โดยหากเป็นกรณีที่จำเป็นต้องทุบสกัดพื้นหรือผนังเพื่อซ่อมแซม อาจพิจารณาเดินท่อชุดใหม่ทดแทน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “แนวทางการป้องกันน้ำรั่วซึม” ที่พวกเราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่ดีนะครับ

Derrick Fernandez

Related Posts